Sunday 18 December 2011

ขอแสดงความยินดีกับบัณฑิตจุลชีววิทยา

ขอแสดงความยินดีกับบัณฑิตจุลชีววิทยา
เนื่องในโอกาสเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร

Thursday 1 December 2011

ขอเชิญฟังการสัมมนาพิเศษ

ขอเชิญเข้าร่วมฟังสัมมนาพิเศษ ๒ เรื่อง (นำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ)ในวันพฤหัสบดีที่ ๑ ธ.ค. ๕๔ โดย อ.ชีวาพัฒน์  เวลา ๑๓.๐๐-๑๔.๐๐ น. และ อ.ดร.ปรียกมล กลั่นฤทธิ์ (คณะเทคโนโลยีชีวภาพ มข.) เวลา ๑๔.๐๐-๑๕.๐๐ น. ณ. ห้อง Sc.7234

Wednesday 2 November 2011

ร่วมเสนอผลงานวิจัยโครงการพระราชดำริฯ

ผลงานวิจัยเด่นของคณาจารย์บางส่วนของภาควิชาฯ ร่วมกับผลงานอื่นๆ ของ คณาจารย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้ สำนักงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มข. จัดแสดงถวาย สมเด็จพระเทพรัตน์ฯ  ณ หนองระเวียง นครราชสีมา

Wednesday 14 September 2011

นักศึกษาโครงการวิจัย ร่วมเก็บตัวอย่างบริเวณเขื่อนสิรินธร ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี

นักศึกษาวิชาโครงการวิจัย ร่วมเก็บตัวอย่างบริเวณเขื่อนสิรินธร อุบลราชธานี โครงการวิจัย ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 6-9 กันยายน 2554

(ภาพจาก Facebook นศ)

Tuesday 13 September 2011

อาจารย์และนักศึกษาภาควิชา ร่วมสัมมนาและเสนอผลงานในงาน FerVAAP

นักศึกษาบัณฑิตศึกษาและคณาจารย์ภาควิชาร่วมประชุมสัมมนาและเสนอผลงานวิจัยในงานประชุมนานาชาติ FerVAAP โดยคณะเทคโนโลยี มข. ณ โรงแรมโฆษะ ขอนแก่น เมื่อ 29-31 สค 54

อาจารย์ภาควิชาเสนอผลงานวิจัยในงานประชุมวิชากการ IUMS 2011 ณ เมือง Sapporo ประเทศญี่ปุ่น

อ.จุฑาพร และ อ.พลสัณห์ ร่วมเสนอผลงานวิจัย ในงานปรุชุมวิชาการนานาชาติ
International Union of Microbiological Societies ณ ประเทศญี่ปุ่น
เมื่อ 5-10 กันยายน 2554

Friday 26 August 2011

สอบรับเข้าเรียนต่อระดับบัณฑิตศึกษา

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม 2554 สอบคัดเลือกเข้าศึกษาในระดับบัณฑิต ศึกษา ณ ห้อง 7234 ชั้น 2 อาคาร SC07 (เยื้องศูนย์อาหารฯ ข้างห้องสมุด) เวลา 9.00 น. สอบข้อเขียน แบบปรนัย และอัตนัย 13.00 สอบภาษาอังกฤษ หลังจากนั้น สอบสัมภาษณ์ ผู้มีสิทธิ์สอบระดับปริญญาโทจำนวน 8 คน ปริญญาเอก 1 คน

Thursday 11 August 2011

ภาควิชา ต้อนรับคณะจากศูนย์วัคซีนแห่งชาติ




คณะจากศูนย์วัคซีนแห่งชาติ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข เยี่ยมภาควิชาจุลชีววิทยา เพื่อศึกษาศักยภาพ และแนวทางความร่วมมือ ในการพัฒนาทางด้านวัคซีน และจุลชีววิทยา
เมื่อ 11 สิงหาคม 2554


Sunday 31 July 2011

ภาควิชาจุลชีววิทยา ร่วมจัดนิทรรศการวันวิทยาศาสตร์


ภาควิชาจุลชีววิทยาร่วมจัดนิทรรศการวันวิทยาศาสตร์ ระหว่างวันที่ 17-19 สิงหาคม 2554 บริเวณอาคาร SC07 ชั้น 1 หัวข้อเกี่ยวกับ โลกจุลินทรีย์; รู้จักจุลินทรีย์ เช่น อี โคไล, ประโยชน์และโทษของจุลินทรีย์, ผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์ เช่น โยเกิร์ต เป็นต้น

Thursday 7 July 2011

อบรมบริการวิชาการ การพัฒนาคุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหาร

ภาควิชาจัดอบรมการพัฒนาคุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและผลิตภัณฑ์ ให้กับผู้สนใจ โดยเฉพาะผู้ค้าอาหาร และผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร ในวันที่ 9 กรกฎาคม ตั้งแต่เวลา 8.30 น.เป็นต้นไป โดยนอกจากให้การบรรยายแล้ว ภาควิชายังให้บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพทางจุลชีววิทยาให้ฟรีอีกด้วย โดยหากผ่านการอบรม ภาควิชาจะออกประกาศนียบัตรผ่านการอบรมให้ และหากผ่านการตรวจคุณภาพทางจุลชีววิทยาภาควิชาก็จะออกประกาศนียบัตรให้ต่างหาก เพื่อรับรองว่าตัวอย่างอาหารได้ผ่านการตรวจสอบ

Monday 9 May 2011

ภาควิชาฯ พบผู้ประกอบการ

13.00 น. 9 พค. 54 คณาจารย์ภาควิชาฯ พบผู้ประกอบการ บ.เวทซูพีเรีย เพื่อประชุมปรึกษาหารือ ถึงความเป็นไปได้ในการร่วมมือ บูรณาการงานวิจัยของคณาจารย์ กับบริษัท

Friday 6 May 2011

รับการตรวจประเมินคุณภาพภายในฯ

ภาควิชาจุลชีววิทยาเข้ารับการตรวจประเมินคุณภาพภายใน ตามระบบประกันคุณภาพการศึกษา ในวันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม 2554 นี้ โดยภาควิชาฯ ได้จัดทำรายงานการประเมินตนเอง ประจำปี พศ 2553 เสนอ ต่อคณะวิทยาศาสตร์ ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2554 เพื่อประกอบการประเมินโดยคณะกรรมการประกันคุณภาพ เรียบร้อยแล้ว โดยในวันที่ 20 พฤษภาคม เวลาประมาณ 9.00 น. ขอเรียนเชิญ คณาจารย์ บุคคลากร นักศึกษา ผู้เกี่ยวข้อง และผู้สนใจ เข้ารับฟังรายงานสรุปการปฏิบัติการของภาควิชาฯ ที่เสนอต่อคณะกรรมการฯ โดยพร้อมเพรียงกัน

Thursday 28 April 2011

กิจกรรมช่วง ปิดภาคฤดูร้อน ของภาควิชาฯ

ทบทวนแผนปฏิบัตราชการ 2554 และวางแผนปฏิบัติการ 2555 ของภาควิชาฯ
จัดทำรายงานการประเมินตนเองของภาควิชา ตามระบบประกันคุณภาพ
ปรับปรุงหลักสูตร วทบ วทม และ ปรด จุลชีววิทยา ตามระบบ TQF

Thursday 31 March 2011

จดหมายแสดงความคิดเห็นต่อร่างฯ ล่าสุด ก่อนประชุมพิจารณา 5 เมษายน 54

                                                                                              30  มีนาคม 2554
เรื่อง ขอเสนอความคิดเห็นต่อร่างข้อบังคับ วิชาชีพควบคุมสาขาจุลชีววิทยา
เรียน ผู้เกี่ยวข้อง
                สืบเนื่องจากยังมีข้อสงสัย และข้อสังเกตุ เกี่ยวกับ ร่างข้อบังคับวิชาชีพควบคุมสาขาจุลชีววิทยา  ซึ่งได้พูดคุยกันในงานรับฟังความคิดเห็น แต่บางข้อก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง และภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นก็ได้ทำหนังสือแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นทางการไปแล้ว แต่ก็ไม่ได้มีการแก้ไข หรือชี้แจงใดๆ  กระผมจึงขออนุญาตเสนอขอคิดเห็นเพิ่มเติม อีกเล็กน้อยและคิดเห็นอีกเล็กน้อยในเรื่องความขัดกันของกฎหมาย ดังรายละเอียดด้านล่าง เพื่อประกอบการพิจารณา ครับ

                                                                ขอแสดงความนับถือ
                                                                นายพลสัณห์ มหาขันธ์
                                                                สมาชิกสภาวิชาชีพวิทย์ฯ

ความขัดกันของ ร่างข้อบังคับ วิชาชีพควบคุม สาขาการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ และใช้จุลินทรีย์ก่อโรค  ประกอบพรบ.ส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศตร์และเทคโนโลยี กับ กฏกระทรวง สาธารณสุข ประกอบ พรบ. เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พศ.2525 และฉบับที่ 2 2544
พรบ. เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ กำหนดให้ การผลิต ส่งออก นำเข้า นำผ่าน เชื้อโรค และพิษจากสัตว์ ต้องมีใบอนุญาติ กฎกระทรวงสาธารณสุข ประกอบพรบ กำหนด การขออนุญาติ และราคาใบอนุญาติ และคุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาติ โดยกำหนดให้ ผู้ที่จะขอใบอนุญาติ ผลิต จำหน่าย ส่งออก นำเข้า นำผ่าน ต้องมีผู้ควบคุม ซึ่งต้องมีใบอนุญาต และต้องเป็นผู้ที่จบหลักสูตรด้านต่างๆ ดังนี้  

                  จัดให้มีผู้ควบคุมการนำผ่าน (นำเข้า, ส่งออก, ผลิต จำหน่าย) เชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ซึ่งต้องเป็นผู้ได้รับปริญญาในสาขาใดสาขาหนึ่งดังนี้ คือ แพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์
เภสัชศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ (จุลชีววิทยา เทคนิคการแพทย์ หรือพยาบาล)

แต่ในข้อบังคับสภาวิชาชีพ ควบคุมสาขาการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ กำหนดงานทางจุลชีววิทยา ที่ต้องมีการขอใบอนุญาติไว้ดังนี้
หมวดที่ ๒
มาตรฐานการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม
สาขาการเพาะเลี้ยงและการใช้จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค
ข้อ ๕ ลักษณะของงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการเพาะเลี้ยงและการ
ใช้จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค มีลักษณะดังต่อไปนี้
() งานคัดแยกและเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ หมายความว่า การใช้เทคนิคที่จำเพาะเจาะจงในการคัดแยก จุลินทรีย์สายพันธุ์ให้บริสุทธิ์ และการเพาะเลี้ยงให้เจริญอยู่ในสภาพที่มีชีวิต เพื่อใช้ในการศึกษา ค้นคว้าวิจัย ใช้ในงานวิเคราะห์ทดสอบและตรวจสอบตามมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์หรือประกอบการตรวจสอบวินิจฉัยงาน ในสาขาวิชาชีพจุลชีววิทยา
() งานเก็บรักษาและดูแลจุลินทรีย์ หมายความว่า จุลินทรีย์ที่นำมาศึกษารวมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องต้องได้รับการดูแลเพื่อไม่ให้สูญหาย หรือตายไป รวมทั้งให้มีการป้องกันการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางพันธุกรรมของจุลินทรีย์ที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงและการเก็บรักษา
() งานควบคุมการใช้จุลินทรีย์ หมายความว่า การใช้จุลินทรีย์ในงานวิจัย การสังเคราะห์ในระบบการผลิต การใช้จุลินทรีย์ ที่อาจก่อให้เกิดโรคในระดับความรุนแรงต่างๆกัน ตลอดจนการขนย้าย การเก็บรักษาให้เหมาะสมถูกต้องและปลอดภัยตาม พระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.. ๒๕๒๕ และ พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.. ๒๕๔๒ และปฏิบัติตามมาตรฐานสากลที่กำหนด
() งานอำนวยการใช้จุลินทรีย์ หมายความว่า การดูแลการใช้จุลินทรีย์ตามบัญชีระดับการก่อโรค ให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล และตามที่กฎหมายกำหนด
() การให้คำปรึกษา หมายความว่า การให้คำแนะนำ การให้ข้อมูล การตรวจวินิจฉัย ตลอดจนการรับรองการใช้จุลินทรีย์ให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด

ซึ่งข้อที่ 3 ของข้อบังคับ กล่าวถึง  พรบ.เชื้อโรคฯ และสอดคล้องกับ กฎกระทรวงดังกล่าว  แต่อีก 5 ข้อเป็นงานที่นอกเหนือจาก กฎกระทรวง โดยรวมถึงงานเกี่ยวกับจุลินทรีย์ทั้งหมด (ไม่เฉพาะจุลินทรีย์ก่อโรค) ที่ต้องขอใบอนุญาติประกอบวิชาชีพควบคุม

โดยในข้อบังคับกล่าวถึงคุณสมบัติของผู้สามารถขอใบอนุญาติประกอบวิชาชีพควบคุม สาขาการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ไว้ ดังนี้

หมวดที่ ๔
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาการเพาะเลี้ยงและการใช้จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค
ข้อ ๙ ผู้จะประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการเพาะเลี้ยงและการใช้จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค ต้องมีคุณวุฒิดังต่อไปนี้
() มีวุฒิการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ด้านวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาจุลชีววิทยา/ชีววิทยา/ชีวเคมี/เทคโนโลยีชีวภาพ/โรคพืชวิทยา หรือสาขาที่เกี่ยวข้องซึ่งได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ (เพิ่มเป็นปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ สาขาที่เกี่ยวข้องกับ จุลินทรีย์ ที่ผ่านการเรียนรายวิชาจุลชีววิทยา มาไม่น้อยกว่า ๔ หน่วยกิต)
() มีวุฒิการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงและการใช้จุลินทรีย์ต่างๆ เป็นเวลาอย่างน้อย ๓ ปี ซึ่งรับรองโดยสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือผ่านการอบรมวิชาจุลชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การเพาะเลี้ยงและการใช้จุลินทรีย์ต่างๆ และการสอบตามที่กำหนดโดย คณะอนุกรรมการวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม หรือ
() สำเร็จหลักสูตรวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาวิชาการเพาะเลี้ยงและการใช้จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดโดยคณะอนุกรรมการวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม

ในข้อ 1 ปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ สาขาที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ ที่ผ่านการเรียนรายวิชาจุลชีววิทยามาไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต ซึ่ง ปกติ เป็นวิชาที่เรียนอยู่ทั่วไปแล้ว สาขาที่มีการเรียนดังกล่าว คือวิทยาศาสตร์ชีวภาพเกือบทั้งหมด รวมทั้ง เกษตรศาสตร์เกือบทั้งหมด และศึกษาศาสตร์บางสาขา  ซึ่งเป็นสาขาที่เรียนมาทางจุลชีววิทยามาน้อยมากและไม่น่าจะทำงานทางด้านจุลินทรย์ก่อโรคได้อย่างปลอดภัย  อีกทั้งจะขัดกับกฎกระทรวงที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ซึ่งกำหนดให้ผุ้ที่จะสามารถขอใบอนุญาติควบคุมการปฏิบัติงานเกี่ยวกับเชื้อก่อโรคได้ ต้องเป็นสาขาทางแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัช และวิทยาศาสตร์ เฉพาะจุลชีววิทยา เทคนิคการแพทย์ และพยาบาล เท่านั้น


ความขัดแย้งกันที่เกิดขึ้นของกฎหมาย

จะเกิดจากหากปฏิบัตตามข้อบังคับสภาวิชาชีพ ผู้ที่จะมีใบอนุญาติ และสามาถทำงานทางด้านเชื้อก่อโรค รวมทั้งการควบคุมต่างๆ ได้ จะเป็นวิทยาศาสตร์สาขาใดก็ได้ที่เรียนจุลชีววิทยามาเพียงอย่างน้อยหนึ่งวิชา หรือจุลชีววิทยาทั่วไปทฤษีและปฏิบัติ ซึ่งอาจมีสาขาทางศึกษาศาสตร์ และเกษตรศาสตร์ ซึ่งจะไม่เคยเรียนเกี่ยวกับเชื้อก่อโรคในคน หรือสัตว์เลยก็ได้

ความแตกต่างกับสาขาวิชาชีพอื่นๆ ที่ต้องขอใบอนุญาติ

นอกจากนี้ ในข้อบังคับสาขาอื่น เช่น เคมีสารอันตราย ก็ให้เฉพาะสาขาเคมี เท่านั้นที่มีสิทธิขอใบอนุญาติ ทั้งที่ สาขาอื่นๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์ก็เรียนเคมีมาอาจมากกว่า 10 หน่วยกิต  สาขาสิ่งแวดล้อม กำหนดวิชาย่อยไปเป็นสาขาย่อยๆ อีก ทำไมไม่เปิดกว้างเหมือนด้านจุลินทรีย์ หรือทำไมสาขาวิชาชีพทางด้าน แพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์  เทคนิคการแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์  หรือแม้แต่ศึกษาศาสตร์ ไม่เปิดกว้างให้ใครก็ได้ไปสอบ หากได้เรียนวิชาทางด้านนั้นๆ เพียงเล็กน้อย  ถ้าสอบได้ก็จะได้ใบอนุญาติประกอบวิชาชีพ  เหมือนที่สาขาการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ฯ กำหนดกว้างเช่นนี้

ปรัชญาของการกำหนด วิชาชีพควบคุม

การที่กำหนดวิชาชีพควบคุม ใน พรบ.วิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นั้นมีเป้าหมายกำหนดสาขาวิชาชีพที่หากผู้ปฏิบัติงานไม่มีความสามารถในการปฏิบัติงานตามกรอบวิชาชีพแล้ว จะทำให้เกิดอันตรายกับประชาชน และตนเอง หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ในวงกว้าง 
ดังนี้จึงไม่ควรกำหนดให้งานที่ต้องมีใบอนุญาติประกอบวิชาชีพควบคุม สาขาการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์และการใช้จุลินทรีย์ก่อโรค รวมไปถึงการปฏิบัติงานเกี่ยวกับจุลินทรีย์ทั้งหมด เพราะจุลินทรีย์ไม่ได้เป็นอันตรายทั้งหมด เช่น สาขาเคมีอันตราย ก็กำหนดเฉพาะสารเคมีอันตรายตามกฎหมาย สารเคมีอันตราย  ดังนั้น ทางด้านจุลินทรีย์ก่อโรค ก็ควรกำหนดเฉพาะจุลินทรีย์ก่อโรค ตามพรบ.เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ เท่านั้น และกำหนดให้ผู้ที่มีสิทธิ์ได้ใบอนุญาติเป็นเฉพาะสาขาจุลชีววิทยา และอื่นๆ ตามกฎกระทรวง รวมทั้งสาขาที่เรียนจุลชีววิทยามาก มากพอ เช่น 15-20 หน่วยกิต เป็นต้น หรืออาจกำหนดวิชาที่เรียนเช่น ต้องเรียนวิชาการเพาะเลี้ยงและใช้จุลินทรีย์ก่อโรค หรือเทียบเท่า เป็นต้น

ภาพการดูงานของนักศึกษา 54

ภาพการศึกษาดูงาน นศ.ปี 4 โคราช กทม และชลบุรี นำโดย ดร.นันทวัน และคณาจารย์
https://picasaweb.google.com/scmicrokku/54#

Thursday 24 February 2011

ข้อบังคับ วิชาชีพวิทยาศาสตร์ฯ ควบคุม สาขาจุลชีววิทยา จะออกแล้ว

ข้อบังคับ วิชาชีพวิทยาศาสตร์ฯ ควบคุม สาขาจุลชีววิทยา  จะออกแล้ว ร่วมกันแสดงความไม่เห็นด้วย เนื่องจากมีข้อบกพร่องหลายข้อ เช่น ใช้บังคับกับคนเลี้ยงจุลินทรีย์ทุกชนิด ทั้งที่ควรจะบังคับเฉพาะจุลินทรีย์ก่อโรค ตามวัตถุประสงค์ดั้งเดิม (เหมือนกับวิชาชีพบังคับสาขาอื่นๆ) 
และให้ผู้ที่เรียนสาขาจุลชีววิทยา มีสิทธิเท่ากับสาขาอื่นๆ ที่เรียนมาทางจุลชีววิทยา เพียงวิชาเบื้องต้นเท่านั้น ต่างกับข้อบังคับของสาขาวิชาชีพบังคับสาขาอื่น
และไม่มีการยกเว้นให้ผู้ที่ปฏิบัติงานด้านนี้มากก่อน ซึ่งจะมีผลให้ทุกคนที่ทำงานด้านนี้ต้องไปสอบขอรับใบอนุญาตหากต้องปฏิบัติหน้าที่ และต้องต่ออายุทุกๆ 3-5 ปี
หากผ่านที่ประชุมสภาวิชาชีพในวันที่ 25 กพ 54 จะประกาศใช้ในอีกไม่นานนี้ 
ร่วมกันแสดงความคิดเห็นไปยังสภาวิชาชีพ หรือรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ซึ่งจะเป็นผู้ลงนามเพื่อออกใช้ข้อบังคับในขั้นสุดท้าย

ดาวโหลดร่างได้จากเวปไซต์สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์ฯ