Tuesday 29 May 2007

พบผู้ปกครอง ๒๖ พค

งานพบผู้ปกครองภาควิชา
๒๖ พค ๕๐


กำหนดการ ปฐมนิเทศ นศ ใหม่ ภาควิชา

กำหนดการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ภาควิชาจุลชีววิทยา
ในวันศุกร์ที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๐ ณ ห้อง ๗๒๓๔ ภาควิชาจุลชีววิยา
  • ๑๓.๐๐ ลงทะเบียน
  • ๑๓.๕๐ หัวหน้าภาควิชากล่าวต้อนรับ เปิดงาน และแนะนำภาค
  • ๑๔.๑๐ ผศ.ดร.สุวรรณา เนียมสนิท แนะนำหลักสูตร
  • ๑๔.๔๐ พักรับประทานอาหารว่าง
  • ๑๕.๐๐ แนะนำอาจารย์ที่ปรึกษาชั้นปี ๑
  • ๑๕.๒๐ ตอบข้อซักถาม
  • ๑๕.๕๐ แนะนำวิธีลงทะเบียนผ่าน internet

Thursday 17 May 2007

หลักสูตร จุลชีววิทยาทางการเกษตร

คณะกรรมการหลักสูตร จุลชีววิทยาทางการเกษตร สังกัด ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ ได้จัดให้มีการประชุม โดย คณะกรรมการหลักสูตร ส่วนหนึ่งเป็นคณาจารย์ของภาควิชาจุลชีววิทยา และเทคโนโลยีชีวภาพ โดยจะประสานความร่วมมือกันผลิตบัณฑิต สาขาดังกล่าว และเพื่อให้สอดคล้องกับ การดำเนินงานของ ศูนย์วิจัยทางการเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ ศูนย์เชี่ยวชาญพิเศษทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร ของ สกอ. จึงได้ตกลง จะเปิดหลักสูตร ปริญญาเอก สาขาดังกล่าว อีกหนึ่งหลักสูตร เพื่อรับนักศึกษาที่สนใจ โดยจะมีทุนรองรับจาก ศูนย์วิจัย และศูนย์เชี่ยวชาญพิเศษดังกล่าว เพื่อผลิตบัณฑิต นักวิจัย และผลงานวิจัยในสาขาดังกล่าวได้มากยิ่งขึ้น โดยในการผลิตบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา จะพยายามเปิดวิชาที่สอดคล้องกับหลักสูตรดังกล่าว และคณาจารย์ของภาควิชา ยินดีที่จะได้ร่วมเป็น อาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ของนักศึกษาหลักสูตรดังกล่าว ทั้งปริญญาโท และปริญญาเอกซึ่งจะเปิดต่อไป ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันดี และความร่วมมือระหว่างภาควิชา จากคณะต่างๆ ทำให้มีการใช้ศักยภาพของแต่ละหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสูงต่อไป

ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราห์ทางจุลชีววิทยา

ข่าวความเคลื่อนไหว จากอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ NESP-KKU
ทางเวปไซต์ http://www.en.kku.ac.th/kkubi/ รายงาน

"NESP-KKU ประชุมหารือผู้แทนห้องปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมในการทำ ISO 17025

เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2550 ได้มีการจัดประชุมเกี่ยวกับระเบียบวิธีการ ดำเนินงานในการเตรียมความพร้อม เพื่อพัฒนาห้องปฏิบัติการให้ได้ มาตรฐาน ISO 17025 โดยมีผศ.สุมนา นีระ เป็นประธานการประชุม และรศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ผู้จัดการKKUBI เป็นคณะกรรมการดำเนินงานในการประชุมในครั้งนี้และมีผู้แทนจากห้องปฏิบัติการต่างๆ ทั้ง 9 ห้อง ซึ่งเนื้อหาการประชุมในครั้งนี้ เป็นการแจ้งเพื่อทราบและแจกแจงรายละเอียดการดำเนินงาน และหาแนวทางร่วมกัน เช่น ด้านการบริหารการจัดการ แผนการดำเนินงานของส่วนกลาง ผู้เชี่ยวชาญที่จะคอยให้คำปรึกษา การจัดหาบุคลากร และรายละเอียดขั้นตอนในการขอรับรองมาตรฐานเพื่อให้พัฒนาห้องปฏิบัติการให้ได้มาตรฐาน รองรับการทำงานของสำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อไป"

ทั้งนี้ ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา ภาควิชาจุลชีววิทยา เป็นหนึ่งไป 9 ห้องปฏิบัติการที่เข้าร่วมประชุม และได้จัดทำ รายละเอียดข้อมูลเบื้องต้น ของ ห้องปฏิบัติการ เสนอ ต่อ คณะกรรมการดังกล่าว ร่วมทั้งให้ทางคณะกรรมการมาเยี่ยมชม เพื่อวิเคราะห์และประเมิน ห้องปฏิบัติการต่อไป

Wednesday 2 May 2007

ทุนกู้ยืม นศ.

หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 02 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10644 รายงานว่า
-น.ศ.3แสนคนเฮได้กู้ กยศ.เปิดเทอมนี้ครม.ไฟเขียวแล้ว-หลังเลิกกองทุน"กรอ." "วิจิตร"จี้จัดสรรวงเงินมหา"ลัยทัน15พ.ค.เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบให้กระทรวงการคลังดำเนินมาตรการให้ความช่วยเหลือสำหรับนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เคยกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ซึ่งต่อมาภายหลัง ครม.มีมติให้ยุบรวม กรอ.เข้ากับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) แล้ว ส่งผลทำให้นิสิตนักศึกษาจำนวนหนึ่งไม่สามารถกู้ยืม กยศ. ได้เนื่องจากคุณสมบัติไม่เข้าหลักเกณฑ์เงื่อนไขรายได้ครอบครัวต้องไม่เกิน 150,000 บาทต่อปี โดยมาตรการช่วยเหลือดังกล่าวมีดังนี้ ผู้กู้ยืม กรอ.ที่มีคุณสมบัติตามประกาศ กยศ.เรื่องหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และคุณสมบัติผู้กู้ยืมเงินให้สามารถกู้ยืมแบบ กยศ.ได้ ทั้งค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าครองชีพ โดยให้คิดอัตราดอกเบี้ย การชำระเงินกู้ยืม รวมทั้งการติดตามหนี้ให้เป็นไปตามแบบ กยศ. ซึ่งนิสิตนักศึกษากลุ่มนี้จะมีประมาณ 158,762 คน "ส่วนผู้กู้ กรอ.ที่ไม่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ของ กยศ. เนื่องจากครอบครัวมีรายได้เกิน 150,000 บาทต่อไป ซึ่งถือว่าไม่ได้เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์นั้น เห็นควรให้ความช่วยเหลือในการกู้ยืม กยศ.ได้เป็นกรณีพิเศษ โดยนำหลักเกณฑ์และวิธีการกู้ยืมเงินแบบ กยศ.มาใช้ โดยอนุโลม แต่ให้กู้ยืมได้เฉพาะค่าเล่าเรียนจนจบหลักสูตร ตามขอบเขตการให้กู้ยืมเงินของ กยศ. สำหรับการคิดอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขการชำระคืนให้เป็นไปตามแบบ กยศ. และให้สำนักงาน กยศ.ทำหน้าที่รับชำระหนี้เงินกู้ ซึ่งกลุ่มนี้มีประมาณ 163,748 คน" นายวิจิตรกล่าว และว่า มาตรการให้ความช่วยเหลือดังกล่าวก็เพื่อพิทักษ์สิทธิเด็กไม่ให้ถูกลิดรอน อันเนื่องมาจากมติ ครม.ที่ให้ยุบรวม กรอ.เข้ากับ กยศ.ก่อนหน้านี้ รัฐมนตรีว่าการ ศธ.กล่าวต่อว่า ในที่ประชุม ครม.ไม่ได้พูดถึงข้อห่วงใยในเรื่องงบประมาณสนับสนุน เพราะกองทุน กยศ.มีงบประมาณเพียงพอ ซึ่งแต่ละปีใช้อยู่ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม ตนได้ตั้งข้อสังเกตในที่ประชุม ครม.ว่า กยศ.ควรต้องเร่งรัดการจัดสรรเงินให้กับสถานศึกษา เพื่อให้นักเรียน นักศึกษากู้ยืมได้ทันเปิดภาคเรียน 1/2550 ซึ่งขณะนี้แต่ละสถานศึกษายังไม่ทราบวงเงินกู้ยืมที่จะได้รับ ดังนั้น อยากให้ทาง กยศ.ประกาศการจัดสรรวงเงินให้ได้ทันวันที่ 15 พฤษภาคมนายวิจิตรกล่าวด้วยว่า ตนจะประชุมร่วมกับผู้แทน กยศ. ผู้แทนนักเรียน นักศึกษาที่กู้ยืมเงิน กยศ.ทั้งมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนภายในสัปดาห์หน้า เพื่อหารือเกี่ยวกับการทบทวนเกณฑ์การกู้ยืมเงิน กยศ. เนื่องจากมีเสียงร้องเรียนเข้ามามากว่าควรจะขยายเงื่อนไขรายได้ต่อครอบครัวให้ขยับสูงขึ้นมากกว่า 150,000 บาท เนื่องจากผู้ปกครองบางรายมีบุตรหลายคน จึงเสนอขอให้ขยับวงเงินสูงขึ้นถึง 300,000 บาทต่อปี ซึ่งหลังจากที่ได้ข้อสรุปแล้วจะเสนอขอทบทวนไปยังกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาต่อไป อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวเห็นว่าควรจะปรับขยายเพดานรายได้ครอบครัวให้สูงขึ้น เพราะตามอัตราเดิมใช้มานานกว่า 10 ปีแล้ว ซึ่งไม่เข้ากับสภาวการณ์ค่าครองชีพที่สูงขึ้นในปัจจุบัน แต่จะขยับจำนวนเท่าใดนั้นต้องศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ เพราะรัฐบาลในอดีตเคยให้ขยับขึ้นถึง 300,000 บาท จนรับภาระด้านงบประมาณไม่ไหว เนื่องจากคนที่ไม่จำเป็นก็มาใช้สิทธิกู้ เนื่องจากเป็นเงินกู้ที่มีดอกเบี้ยต่ำมาก จนสุดท้ายต้องลดเพดานลงมาเป็น 150,000 บาทต่อปีเหมือนเดิม หน้า 26