Thursday 31 March 2011

จดหมายแสดงความคิดเห็นต่อร่างฯ ล่าสุด ก่อนประชุมพิจารณา 5 เมษายน 54

                                                                                              30  มีนาคม 2554
เรื่อง ขอเสนอความคิดเห็นต่อร่างข้อบังคับ วิชาชีพควบคุมสาขาจุลชีววิทยา
เรียน ผู้เกี่ยวข้อง
                สืบเนื่องจากยังมีข้อสงสัย และข้อสังเกตุ เกี่ยวกับ ร่างข้อบังคับวิชาชีพควบคุมสาขาจุลชีววิทยา  ซึ่งได้พูดคุยกันในงานรับฟังความคิดเห็น แต่บางข้อก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง และภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นก็ได้ทำหนังสือแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นทางการไปแล้ว แต่ก็ไม่ได้มีการแก้ไข หรือชี้แจงใดๆ  กระผมจึงขออนุญาตเสนอขอคิดเห็นเพิ่มเติม อีกเล็กน้อยและคิดเห็นอีกเล็กน้อยในเรื่องความขัดกันของกฎหมาย ดังรายละเอียดด้านล่าง เพื่อประกอบการพิจารณา ครับ

                                                                ขอแสดงความนับถือ
                                                                นายพลสัณห์ มหาขันธ์
                                                                สมาชิกสภาวิชาชีพวิทย์ฯ

ความขัดกันของ ร่างข้อบังคับ วิชาชีพควบคุม สาขาการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ และใช้จุลินทรีย์ก่อโรค  ประกอบพรบ.ส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศตร์และเทคโนโลยี กับ กฏกระทรวง สาธารณสุข ประกอบ พรบ. เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พศ.2525 และฉบับที่ 2 2544
พรบ. เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ กำหนดให้ การผลิต ส่งออก นำเข้า นำผ่าน เชื้อโรค และพิษจากสัตว์ ต้องมีใบอนุญาติ กฎกระทรวงสาธารณสุข ประกอบพรบ กำหนด การขออนุญาติ และราคาใบอนุญาติ และคุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาติ โดยกำหนดให้ ผู้ที่จะขอใบอนุญาติ ผลิต จำหน่าย ส่งออก นำเข้า นำผ่าน ต้องมีผู้ควบคุม ซึ่งต้องมีใบอนุญาต และต้องเป็นผู้ที่จบหลักสูตรด้านต่างๆ ดังนี้  

                  จัดให้มีผู้ควบคุมการนำผ่าน (นำเข้า, ส่งออก, ผลิต จำหน่าย) เชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ซึ่งต้องเป็นผู้ได้รับปริญญาในสาขาใดสาขาหนึ่งดังนี้ คือ แพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์
เภสัชศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ (จุลชีววิทยา เทคนิคการแพทย์ หรือพยาบาล)

แต่ในข้อบังคับสภาวิชาชีพ ควบคุมสาขาการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ กำหนดงานทางจุลชีววิทยา ที่ต้องมีการขอใบอนุญาติไว้ดังนี้
หมวดที่ ๒
มาตรฐานการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม
สาขาการเพาะเลี้ยงและการใช้จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค
ข้อ ๕ ลักษณะของงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการเพาะเลี้ยงและการ
ใช้จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค มีลักษณะดังต่อไปนี้
() งานคัดแยกและเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ หมายความว่า การใช้เทคนิคที่จำเพาะเจาะจงในการคัดแยก จุลินทรีย์สายพันธุ์ให้บริสุทธิ์ และการเพาะเลี้ยงให้เจริญอยู่ในสภาพที่มีชีวิต เพื่อใช้ในการศึกษา ค้นคว้าวิจัย ใช้ในงานวิเคราะห์ทดสอบและตรวจสอบตามมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์หรือประกอบการตรวจสอบวินิจฉัยงาน ในสาขาวิชาชีพจุลชีววิทยา
() งานเก็บรักษาและดูแลจุลินทรีย์ หมายความว่า จุลินทรีย์ที่นำมาศึกษารวมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องต้องได้รับการดูแลเพื่อไม่ให้สูญหาย หรือตายไป รวมทั้งให้มีการป้องกันการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางพันธุกรรมของจุลินทรีย์ที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงและการเก็บรักษา
() งานควบคุมการใช้จุลินทรีย์ หมายความว่า การใช้จุลินทรีย์ในงานวิจัย การสังเคราะห์ในระบบการผลิต การใช้จุลินทรีย์ ที่อาจก่อให้เกิดโรคในระดับความรุนแรงต่างๆกัน ตลอดจนการขนย้าย การเก็บรักษาให้เหมาะสมถูกต้องและปลอดภัยตาม พระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.. ๒๕๒๕ และ พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.. ๒๕๔๒ และปฏิบัติตามมาตรฐานสากลที่กำหนด
() งานอำนวยการใช้จุลินทรีย์ หมายความว่า การดูแลการใช้จุลินทรีย์ตามบัญชีระดับการก่อโรค ให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล และตามที่กฎหมายกำหนด
() การให้คำปรึกษา หมายความว่า การให้คำแนะนำ การให้ข้อมูล การตรวจวินิจฉัย ตลอดจนการรับรองการใช้จุลินทรีย์ให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด

ซึ่งข้อที่ 3 ของข้อบังคับ กล่าวถึง  พรบ.เชื้อโรคฯ และสอดคล้องกับ กฎกระทรวงดังกล่าว  แต่อีก 5 ข้อเป็นงานที่นอกเหนือจาก กฎกระทรวง โดยรวมถึงงานเกี่ยวกับจุลินทรีย์ทั้งหมด (ไม่เฉพาะจุลินทรีย์ก่อโรค) ที่ต้องขอใบอนุญาติประกอบวิชาชีพควบคุม

โดยในข้อบังคับกล่าวถึงคุณสมบัติของผู้สามารถขอใบอนุญาติประกอบวิชาชีพควบคุม สาขาการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ไว้ ดังนี้

หมวดที่ ๔
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาการเพาะเลี้ยงและการใช้จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค
ข้อ ๙ ผู้จะประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการเพาะเลี้ยงและการใช้จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค ต้องมีคุณวุฒิดังต่อไปนี้
() มีวุฒิการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ด้านวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาจุลชีววิทยา/ชีววิทยา/ชีวเคมี/เทคโนโลยีชีวภาพ/โรคพืชวิทยา หรือสาขาที่เกี่ยวข้องซึ่งได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ (เพิ่มเป็นปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ สาขาที่เกี่ยวข้องกับ จุลินทรีย์ ที่ผ่านการเรียนรายวิชาจุลชีววิทยา มาไม่น้อยกว่า ๔ หน่วยกิต)
() มีวุฒิการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงและการใช้จุลินทรีย์ต่างๆ เป็นเวลาอย่างน้อย ๓ ปี ซึ่งรับรองโดยสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือผ่านการอบรมวิชาจุลชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การเพาะเลี้ยงและการใช้จุลินทรีย์ต่างๆ และการสอบตามที่กำหนดโดย คณะอนุกรรมการวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม หรือ
() สำเร็จหลักสูตรวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาวิชาการเพาะเลี้ยงและการใช้จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดโดยคณะอนุกรรมการวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม

ในข้อ 1 ปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ สาขาที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ ที่ผ่านการเรียนรายวิชาจุลชีววิทยามาไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต ซึ่ง ปกติ เป็นวิชาที่เรียนอยู่ทั่วไปแล้ว สาขาที่มีการเรียนดังกล่าว คือวิทยาศาสตร์ชีวภาพเกือบทั้งหมด รวมทั้ง เกษตรศาสตร์เกือบทั้งหมด และศึกษาศาสตร์บางสาขา  ซึ่งเป็นสาขาที่เรียนมาทางจุลชีววิทยามาน้อยมากและไม่น่าจะทำงานทางด้านจุลินทรย์ก่อโรคได้อย่างปลอดภัย  อีกทั้งจะขัดกับกฎกระทรวงที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ซึ่งกำหนดให้ผุ้ที่จะสามารถขอใบอนุญาติควบคุมการปฏิบัติงานเกี่ยวกับเชื้อก่อโรคได้ ต้องเป็นสาขาทางแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัช และวิทยาศาสตร์ เฉพาะจุลชีววิทยา เทคนิคการแพทย์ และพยาบาล เท่านั้น


ความขัดแย้งกันที่เกิดขึ้นของกฎหมาย

จะเกิดจากหากปฏิบัตตามข้อบังคับสภาวิชาชีพ ผู้ที่จะมีใบอนุญาติ และสามาถทำงานทางด้านเชื้อก่อโรค รวมทั้งการควบคุมต่างๆ ได้ จะเป็นวิทยาศาสตร์สาขาใดก็ได้ที่เรียนจุลชีววิทยามาเพียงอย่างน้อยหนึ่งวิชา หรือจุลชีววิทยาทั่วไปทฤษีและปฏิบัติ ซึ่งอาจมีสาขาทางศึกษาศาสตร์ และเกษตรศาสตร์ ซึ่งจะไม่เคยเรียนเกี่ยวกับเชื้อก่อโรคในคน หรือสัตว์เลยก็ได้

ความแตกต่างกับสาขาวิชาชีพอื่นๆ ที่ต้องขอใบอนุญาติ

นอกจากนี้ ในข้อบังคับสาขาอื่น เช่น เคมีสารอันตราย ก็ให้เฉพาะสาขาเคมี เท่านั้นที่มีสิทธิขอใบอนุญาติ ทั้งที่ สาขาอื่นๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์ก็เรียนเคมีมาอาจมากกว่า 10 หน่วยกิต  สาขาสิ่งแวดล้อม กำหนดวิชาย่อยไปเป็นสาขาย่อยๆ อีก ทำไมไม่เปิดกว้างเหมือนด้านจุลินทรีย์ หรือทำไมสาขาวิชาชีพทางด้าน แพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์  เทคนิคการแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์  หรือแม้แต่ศึกษาศาสตร์ ไม่เปิดกว้างให้ใครก็ได้ไปสอบ หากได้เรียนวิชาทางด้านนั้นๆ เพียงเล็กน้อย  ถ้าสอบได้ก็จะได้ใบอนุญาติประกอบวิชาชีพ  เหมือนที่สาขาการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ฯ กำหนดกว้างเช่นนี้

ปรัชญาของการกำหนด วิชาชีพควบคุม

การที่กำหนดวิชาชีพควบคุม ใน พรบ.วิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นั้นมีเป้าหมายกำหนดสาขาวิชาชีพที่หากผู้ปฏิบัติงานไม่มีความสามารถในการปฏิบัติงานตามกรอบวิชาชีพแล้ว จะทำให้เกิดอันตรายกับประชาชน และตนเอง หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ในวงกว้าง 
ดังนี้จึงไม่ควรกำหนดให้งานที่ต้องมีใบอนุญาติประกอบวิชาชีพควบคุม สาขาการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์และการใช้จุลินทรีย์ก่อโรค รวมไปถึงการปฏิบัติงานเกี่ยวกับจุลินทรีย์ทั้งหมด เพราะจุลินทรีย์ไม่ได้เป็นอันตรายทั้งหมด เช่น สาขาเคมีอันตราย ก็กำหนดเฉพาะสารเคมีอันตรายตามกฎหมาย สารเคมีอันตราย  ดังนั้น ทางด้านจุลินทรีย์ก่อโรค ก็ควรกำหนดเฉพาะจุลินทรีย์ก่อโรค ตามพรบ.เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ เท่านั้น และกำหนดให้ผู้ที่มีสิทธิ์ได้ใบอนุญาติเป็นเฉพาะสาขาจุลชีววิทยา และอื่นๆ ตามกฎกระทรวง รวมทั้งสาขาที่เรียนจุลชีววิทยามาก มากพอ เช่น 15-20 หน่วยกิต เป็นต้น หรืออาจกำหนดวิชาที่เรียนเช่น ต้องเรียนวิชาการเพาะเลี้ยงและใช้จุลินทรีย์ก่อโรค หรือเทียบเท่า เป็นต้น

ภาพการดูงานของนักศึกษา 54

ภาพการศึกษาดูงาน นศ.ปี 4 โคราช กทม และชลบุรี นำโดย ดร.นันทวัน และคณาจารย์
https://picasaweb.google.com/scmicrokku/54#